logo

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : มาลาเรีย / ไข้จับสั่น

โรคมาลาเรีย เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว พลาสโมเดียม (Plasmodium) โดยเชื้อที่ก่อโรคในคนมีอยู่  4 ชนิด คือ 1) Plasmodium falciparum (ในประเทศไทยพบเชื้อชนิดนี้บ่อยที่สุด) 2) Plasmodium vivax (พบเชื้อชนิดนี้ได้รองลงมา) 3) Plasmodium ovale และ 4) Plasmodium malariae โดยยุงที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรียนี้ คือยุงก้นปล่องเพศเมีย นอกจากคนจะติดเชื้อมาลาเรียมาจากยุงแล้ว อาจพบการติดเชื้อโดยบังเอิญจากการได้รับเลือดหรือการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในผู้เสพยาเสพติด แต่พบจากโอกาสเหล่านี้ได้น้อยมาก

ระยะฟักตัวของโรคมาลาเรีย คือ ตั้งแต่ถูกยุงก้นปล่องกัดจนกระทั่งเกิดอาการ โดยทั่วไปใช้เวลา 10-14 วัน แต่อาจนานถึง 4 สัปดาห์ได้ อาการที่ปรากฏเริ่มแรกจะไม่จำเพาะ อาจคล้ายโรคไข้หวัดทั่วไป ซึ่งได้แก่อาการรู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว อ่อนเพลีย ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และปวดศีรษะ ซึ่งบางคนอาการปวดศีรษะอาจรุนแรงได้ หลังจากนั้นจะเริ่มมีไข้สูง และประมาณ 6-7 วัน ไข้จะเริ่มเกิดเป็นเวลา  เพราะเป็นไปตามระยะเวลาที่เชื้อแต่ละชนิดใช้ในการแบ่งตัวจนเต็มเซลล์เม็ดเลือดแดง จนกระทั่งแตกออก ซึ่งช่วงที่เม็ดเลือดแดงแตกออกนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการที่จำเพาะของโรคมาลาเรีย ประกอบด้วย

  1. ระยะหนาวสั่น : ผู้ป่วยจะปากและตัวสั่น ดูซีดเผือด
  2. ระยะร้อน : จะมีไข้สูงอาจถึง 40 องศา หน้าแดง อาจมีคลื่นไส้อาเจียน ระยะนี้ใช้เวลา 2-6 ชั่วโมง
  3. ระยะเหงื่อออก : ไข้จะลดลงและมีเหงื่อออกทั่วตัว

อนึ่ง ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคมาลาเรียตลอดทั้งปี มีความชุกของโรคสูงมาก และเคยมีการติดเชื้อมาลาเรียบ่อยๆ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อโรคมาลาเรีย ภูมิคุ้มกันชนิดนี้ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อมาลาเรีย แต่ช่วยป้องกันไม่ให้โรคมีความรุนแรงเมื่อติดเชื้อซ้ำอีก ผู้ป่วยเหล่านี้มักตรวจพบมีม้ามโต และในเด็กมักพบภาวะโลหิตจาง แต่บางคนตรวจพบเชื้อมาลาเรียในกระแสเลือดโดยที่ไม่มีอาการปรากฏเลยก็มี

  1. ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมาลาเรียชนิด Plasmodium falciparum อาจมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นกับอวัยวะระบบใดระบบหนึ่ง หรือพร้อมกันหลายๆ ระบบก็ได้ โดยจะเกิดขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อมาลาเรียในปริมาณที่มาก คือมีจำนวนเม็ดเลือดแดงทั่วร่างกายมากกว่า 3% ที่มีเชื้อมาลาเรีย ซึ่งมักเกิดในผู้ที่ได้รับยารักษาไม่เพียงพอ กรณีนี้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูง และทำให้เกิดผลข้างเคียงแทรกซ้อนซึ่งได้แก่ มาลาเรียขึ้นสมอง น้ำตาลในเลือดต่ำ (อาการคือ ใจสั่น หน้ามืด เหงื่อออก) ภาวะเลือดเป็นกรด (ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจหอบลึก ซึม มีอัตราการเสียชีวิตสูง) ภาวะซีด น้ำท่วมปอด ไตวายฉับพลัน2.3.
  2. เชื้อมาลาเรียชนิด Plasmodium vivax และ Plasmodium ovale เมื่อเข้าสู่ร่างกายและไปอยู่ในเซลล์ตับแล้ว เชื้อบางตัวจะไม่แบ่งตัวเพื่อเข้าสู่กระแสเลือด แต่จะอาศัยอยู่ในเซลล์ตับเป็นเวลาหลายเดือนหรือเป็นปี แล้วจึงแบ่งตัวและเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้มีอาการของโรคมาลาเรียเกิดขึ้นอีกครั้งหลังจากติดเชื้อครั้งแรก เมื่อผ่านไปหลายเดือนหรือเป็นปีแล้ว
  3. ในพื้นที่ที่มีการระบาดตลอดเวลา การติดเชื้อซ้ำแล้วซ้ำอีกบ่อยๆ จะทำให้ม้ามมีขนาดใหญ่มาก ตับโต มีภาวะซีด มีสารภูมิคุ้มกันในเลือดขึ้นสูง เม็ดเลือดขาวบางชนิดมีปริมาณมากขึ้น
  4. ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเชื้อมาลาเรียชนิด Plasmodium malariae ในพื้นที่ที่มีการระบาดถี่ซ้ำบ่อยๆ อาจทำให้เป็นโรคไตชนิดที่เรียกว่า Nephroic syndrome ได้ ซึ่งยากต่อการรักษาและเกิดโรคไตเรื้อรังตามมาในที่สุด
  1. หลีกเลี่ยงการเข้าป่าหรือเข้าไปในพื้นที่ที่มีความชุกของโรคมาลาเรียสูง ถ้าจำเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว ก็ต้องป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยการใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด ไม่ควรใส่เสื้อผ้าสีดำหรือสีคล้ำ เพราะยุงชอบแสงสลัวๆ ใช้ยาทาป้องกันยุงกัดที่มีประสิทธิภาพทุก 4-6 ชั่วโมง ควรหลีกเลี่ยงการออกจากที่อยู่อาศัยในช่วงยุงก้นปล่องออกหากินซึ่งก็คือ เวลาพลบค่ำและกลางคืน และควรนอนในห้องที่มีมุ้งลวดหรือนอนกางมุ้ง
  2. กรณีที่จำเป็นต้องเข้าไปในป่า ในปัจจุบันไม่แนะนำให้กินยาป้องกันมาลาเรีย เนื่องจากเชื้อดื้อยามากขึ้น และทำให้เข้าใจผิดว่ากินยาแล้วจะไม่เป็นมาลาเรีย นอกจากนั้นถ้าเป็นมาลาเรียขึ้นมาจริงๆ ยาอาจเป็นสาเหตุให้ตรวจเลือดไม่พบเชื้อ ทำให้เมื่อตรวจพบอีกที ก็มีอาการมากแล้ว แต่ในกรณีที่จะต้องเดินทางเข้าป่าหรือเข้าป่าหลายวัน ห่างไกลจากสถานพยาบาล เช่น ทหารที่ต้องเข้าไปลาดตระเวนในป่า ควรพกยาที่ใช้รักษามาลาเรียไปให้พร้อม เตรียมไว้ใช้ในกรณีจำเป็นที่สงสัยจะป่วยเป็นมาลาเรียในป่า ซึ่งต้องปรึกษาแพทย์ก่อนนำยาไปใช้ทุกครั้ง